วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

GIFT ON THE MOON FESTIVAL

Packaging design for wooden tweak in Gift on the moon festival
โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับไม้หนีบกระดาษตัวการ์ตูนในงานกิฟท์ ออน เดอะ มูน

โดย : นางสาว จิรวรรณ พุทธรักษา
รหัสนักศึกษา : 5211312672
e-Mail Contact : jirawanart@gmail.com

แก้ไขครั้งที่ 2 หลังจากได้คำแนะนำจากอาจารย์

บรรจุภัณฑ์หลังแก้ไข
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ถุงพลาสติกขนาด 12x6 เซนติเมตรด้านบนจะติด label เป็นโลโก้ของสินค้า และแบรนด์ ด้านหลังเป็น QR code เข้า blogspot และวิธีการใช้งาน และขนาดของผลิตภัณฑ์ด้านล่างจะติดด้วยสติกเป็นแบรนด์ของร้าน


















ผลิตภัณฑ์ขนาดที่ 1 ทำเป็นไซต์เล็กขนาด 5 x 0.6 เซนติเมตรลงสีด้วยสีอะครีริคโดยใช้สีแบบ soft ไม่เน้นในสีที่แรง หรือ ฉูดฉาดเกินไป เพราะจะทำให้ไม้เด่นเกินตัวการ์ตูน











 


ขนาดใหญ่มีขนาด 7 x 1 เซนติเมตรลักษณะของตัวการ์ตูนที่นำมาติดไม้อันใหญ่จะมีความใหญ่กว่าอันที่นำมาติดอันเล็ก ทำให้มีความสมดุลกันของไม้และตัวการ์ตูน













Tag & Lebel

 เป็นฉลากของสินค้าประกอบด้วยโลโก้และ แบรนด์
ด้านหลังเป็นแบรนด์ และ QR code กับ สถานะของ
สินค้าและวิธีการใช้ และขนาดของผลิตภัณฑ์
อันนี้ใช้สำหรับสินค้าไซต์ 7 x1 cm
ราคา  29 บาท

อันนี้ใช้สำหรับสินค้าขนาดเล็ก ไซต์ 5 x 0.5 เซนติเมตร
โดยใช้พื้นหลังด้านหลังของฉลากคนละสีกับฉลากสำหรับ
สินค้าไซต์ใหญ่เพราะแบ่งขนาดของผลิตภัณฑ์
อันนี้ราคา 20 บาท

ใช้ติดปิดปากถุงด้านล่างของบรรจุภัณฑ์ เป็นสติ๊กเกอร์
ออกแบบเป็นแบรนด์ของร้าน


บรรจุภัณฑ์แบบสำเร็จ





วิธีการนำไปใช้

ใช้หนีบโน๊ท หรือกระดาษไว้กับสถานที่ต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

GIFT ON THE MOON FESTIVAL

Packaging design for wooden tweak in Gift on the moon festival
โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับไม้หนีบกระดาษตัวการ์ตูนในงานกิฟท์ ออน เดอะ มูน

โดย : นางสาว จิรวรรณ พุทธรักษา
รหัสนักศึกษา : 5211312672
e-Mail Contact : jirawanart@gmail.com

Research (สืบค้น)
การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าตามแหล่งขายของ handmade หรือตามสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆได้ idea จากการทำไม้หนีบผ้าที่เป็นวัสดุที่ทำจากไม้ไม่มีลวดลายอะไรแต่เค้านำมาติดกับ sticker ที่เป็นลวดลายต่างๆซึ่งมันก็ดูแล้วสวยดี จึงอยากนำมาแปรสภาพจากของเดิมของเค้ามาเป็นอย่างอื่นเพราะในปัจจุบันในประเทศมีการใช้ไม้หนีบในการตาหผ้าเยอะมากซึ่งก็มีแต่ลักษณะเหมือนๆกัน และใช้งานเหมือนๆกันไม่ค่อยมีการนำมาทำเป็นของใช้อย่างอื่นซักเท่าไหร่ จึงอยากที่จะคิดสร้างผลิตภัณฑ์อันใหม่ขึ้นเพื่อที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งไม้หนีบที่จะนำมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์อันใหม่นั้นจะต้องสามารถใช้งานได้จริงและมีการดีไซน์แบบใหม่ที่ไม่เหมือนคนอื่น

เป็นไม้เปล่าที่นำมาติดกับสติ๊กเกอร์เพื่อเพิ่มลวดลาย

Problem
- ตัวสินค้ายังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน
- ยังไม่มีกราฟฟิกหรือจุดเด่นอะไร
- แนวความคิดยังไม่ค่อยตรงกับ concept ในงาน
- การดีไซน์ product ยังไม่แน่นอน

situations study
ข้อมูลของสินค้า

- เป็นไม้หนีบผ้าที่ทำจากเนื้อไม้มี 2 ขนาด
  ขนาดใหญ่ มีความยาว 7  เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
  ขนาดเล็กมีขนาดความยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 0.6 เซนติเมตร
- จะใช้ไม้หนีบมาทำอย่างอื่นนอกจากการใช้หนีบผ้า



นอกจากนี้วัสดุอีกอย่างที่นำมาผลิตกับไม้หนีบคือ " ดินไทย"ก่อนอื่นมารู้จักความเป็นมาของดินกันก่อนน่ะค่ะ

                 จุดเริ่มต้นของดินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ที่เรียกว่าดินญี่ปุ่นหรือดินไทย มีที่มาจากต่างประเทศ แต่กลับไม่ใช้ประเทศญี่ปุ่นอย่างนี้เราเข้ากัน โดยแท้เริ่มมาจากประเทศในทวีปยุโรป(ไม่แน่ว่าประเทศไหน เพราะไม่มีการบรรทึกไว้) แต่เริ่มที่ยุโรปสักปนะมาณ 50-60 ปีที่ผ่าน(ค.ศ.1940-1950) เกิดจากความบังเอิญมากกว่า เนื่องจากคนยุโรปในสมัยมักจะทานอาหารประเภทขนมปังเป็นอาหารหลัก ดังนนั้นจึงเกิดแป้งที่เหลือใช้เป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง จึงได้มีผู้ที่คิดลองเอามาปั้นเป็นสิ่งของต่างๆ เช่น ตุ๊กตา ตัวสัตว์ และดอกไม้ จากนั้นก็ได้มีการคิดพัฒนามาเรื่อยๆ จากที่เคยไม่มีสีก็ผสมสีลงไป จากที่โดยแมลงแทะกิน จากที่เกิดเป็นเชื้อราบ้าง ก็ปรัมสูตรมากันมาเรื่อยๆตามลำดับ
               ต่อมาเมื่อประมาณสักปี ค.ศ.1970 หรือประมาณ 30 ปีที่แล้ว เกิดมีชาวญี่ปุ่นเห็นชาวยุโรปปั้นเป็นรูปร่างต่างๆก็กลับมาคิดพัฒนา เป็นแป้งปั้นของญี่ปุ่นบ้าง แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกับทางยุโรปอีกเช่นเคย ด้วยความที่ญี่ปุ่นเป็นนักคิดก็สามารถพัฒนาแป้งปั้นในเกิดเป็นดินปั้นขึ้นมาจนได้ ที่เรีกว่า เคลย์(Clay) ส่วนผสมในตอนแรกก็ทำมาจาก แป้งทำอาหาร เหมือนกัน(แต่ปัจจุบันเกิดแป้งทางเคมี) ที่ประเทศญี่ป่นในยุคก่อนนำมาปั้น ตุ๊กตา แบบเหมือนจริง ก็จะผสมกระดาษป่นเข้าที่เรียกว่า ดินเยื่อกระดาษ ส่วนการทำดอกไม้ ก็ใช้ดินแป้งทำ และก็มีโรงเรียนเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย เพื่อสอนการทำงานฝีมือประเภทนี้ขึ้น ในขณะเดียวกันเกิดบริษัทที่ผลิตออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมากเช่นกัน หลากหลายยี่ห้อ ส่วนยี่ห้อที่เรารู้กันดีก็คือ ดินLUNA CLAY ก็ยี่ห้อหนึ่งที่มีคนใช้มาก(ดินญี่ปุ่น LUNACLAY มีด้วยหลายเกรด แต่แบบที่บ้านเราใช้กันเป็นเกรดที่ถูกที่สุดในญี่ปุ่น)
           หลังจากนั้นไม่นานนักดินญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ประมาณปี พ.ศ.2530 เกิดการนำดินญี่ปุ่นมาปั้นเป็นดอกไม้ เป็นตุ๊กตา โดยผู้สอนก็เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ในตอนนั้นมีคนไทยสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย ทำกันเฉพาะกลุ่ม โดยส่วนจะเป็นการทำเพื่อเป็นอดิเรกมากกว่า ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย หลังจากนั้นไม่นานนักคนไทยเป็นคนรักเรื่องงานฝีมือก็คิดมาดินไทยขึ้นมาบ้าง ก็เกิดจากแป้งเหมือนในทุกๆประเทศที่เริ่มคิดสูตร เท่าที่จำได้ก็เห็นต้นมะพร้าว ต้นกล้วย ขายกันอยู่ตามชาดหาด เช่น แถวบางแสน ก็มากอยู่ และส่วนหนึ่งที่คุณครูสอนที่สอนหนังสือนำแป้งที่ทำเองมาสอนนักเรียนในวิชางานประดิษฐ์ในหลายๆโรงเรียน ส่วนกลุ่มที่ทำขายก็พัฒนาด้านฝีมือในการทำให้สวยงาม ละเอียดละออ ยิ่งกว่าประเทศต้นแบบเสียอีก ทางด้านผู้ผลิตเองก็พัฒนาสูตรดินมาเกือบจะเทียบเท่าดินญี่ปุ่น
            ถึงอย่างไรก็ตาม ทางร้านเราเองเคยไปแสดงสินค้าที่ยุโรป(ประเทศต้นแบบ) ได้เห็นงานของยุโรปในยุคปัจจุบันก็ไม่เหมือนที่บ้านเราทำ ส่วนใหญ่งานของเขาได้ถูกพัฒนามาเป็นทางด้านงานเซรามิคมากกว่างานดินปั้น ฝรั่งเองพอเห็นของคนไทยยังทึ่งเลยทำได้เหมือนดอกไม้จริงมาก และที่ประเทศญี่ปุ่นเองเราก็เคยไปออกงานแสดงสินค้า โดยเอาดอกไม้ดินฝีมือคนไทยไปโชว์ ไปขายก็ได้รับความสนใจมาก ขายดีมาก เพราะที่ญี่ปุ่นเองจะไม่ค่อยมีต้นเล็ก ส่วนต้นใหญ่งานของเขาจะเป็นเหมือนงานประดิษฐ์ แต่ส่วนงานบ้านเราจะเหมือนดอกไม้จริงๆ

ตัวอย่างของการปั้นดิน
 
   การปั้นเค้กขนาดจิ๋ว
http://www.flowerhandmade.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=397706

- ออกแบบมาเพื่อใช้ในการออกร้านค้า " 'งาน กิฟท์ ออน เดอะ มูน" ที่บริเวณ อาคาร 28 
  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าหน้าที่ และ นักศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย อายุตั้งแต่ 18 - 45 ปี
- วันจัดงาน 29 ก.พ-2 มี.ค 2555 เวลา 13:00 - 21:00

Design
- logo design
- sticker design
- graphics design

Package
- เป็นกล่องที่ทำด้วยกระดาษแข็ง ฐานมีขนาด 5 x 5.30 เซนติเมตรสูง 9 เซนติเมตร
  ด้านบนของกล่องกว้าง 9 x 9 เซนติเมตร 
  มีที่หิ้วด้านบน ขนาด 4.5 เซนติเมตร
  ด้านหน้าเป็นพลาสติกใสเพื่อให้มองเห็นตัวสินค้า

Resume(สมมุติฐาน)
Product
นำไม้หนีบผ้ามาแปรรูปในรูปแบบของไม้หนีบกระดาษ แต่จะให้มีการดีไซน์ก็เลยได้ ideaว่าควรจะมีอะไรที่น่าสนใจกว่านั้นเลยเลือกดินไทยมาเพื่อที่จะนำมาปั้นเป็นตัวการ์ตูนต่างๆติดกับไม้หนีบ แล้วเปลี่ยนจากหนีบผ้ามาเป็นหนีบ โน๊ต หรือกระดาษ ที่โต๊ะทำงาน เพื่อที่มองแล้วก็จะผ่อนคลายเมื่อเห็นตัวการ์ตูนที่ติดอยู่กับไม้หนีบ
                                                                      
   


ในการปั้นตัวการ์ตูนจะทำขนาดไม่เท่ากันเนื่องจากเลือกไม้หนีบที่มี 2 ขนาดมาทำจึงต้องลดย่อขนาดตามไม้ เพื่อสร้างแนวทางให้ลูกค้าจึงเลือกปันทั้ง คน สัตว์ สิ่งขอล รวมทั้งของกิน 



product
     เลือกขนาดของไม้หนีบมา 2 ขนาด
ขนาดใหญ่ มีความยาว 7  เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
ขนาดเล็กมีขนาดความยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 0.6 เซนติเมตร

นำมาระบายสีอะครีริคหลายๆสี จากนั้นก็พ่นด้วยสเปรย์เคลือบเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับไม้






อุปกรณ์ที่ใช้ทำงานในครั้งนี้

ไม้หนีบที่ทำจากไม้ ลักษณะที่ยังไม่มีการตกแต่ง

 พู่กัน  จานสี  สีน้ำ,สีอะครีริค

เครื่องมือที่ใช้ในการปั้น สเปรย์เคลือบเงา

ดินไทย

การลงสีไม้หนีบใช้สีอะครีริค
     ผสมสีที่อ่อนเพื่อที่จะติดกับตัวการ์ตูนแล้วดูน่ารัก แล้วสีก็จะไม่ฉูดฉาดมากเิกินไป



การผสมสีดิน
   บีบดินออกมาในปริมาณที่จะใช้ แล้วหยอดสีลงไปในดินในปริมาณที่ไม่มาก แต่ถ้าสีไม่เข้มพอค่อยเติมลงไปอีกทีละนิดเพราะถ้าเสียแล้วจะแก้ยาก  จากนั้นนวดสีกับดินให้เข้ากันจนเป็นเนื้อละเอียดจึงจะสามารถนำมาปั้นได้
บีบสีใส่
เริ่มนวด
เมื่อนวดจนละเอียด
ก็จะนำมาปั้นเป็นรูปทรงต่างๆตามต้องการ
product
   สำเร็จรูป
มีทั้งการปั้น อาหาร ของใช้ และ สัตว์
package
  โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์/ลักษณะของกล่อง
- เป็นกล่องที่ทำด้วยกระดาษแข็ง ฐานมีขนาด 5 x 5.30 เซนติเมตรสูง 9 เซนติเมตร
  ด้านบนของกล่องกว้าง 9 x 9 เซนติเมตร 
  มีที่หิ้วด้านบน ขนาด 4.5 เซนติเมตร
  ด้านหน้าเป็นพลาสติกใสเพื่อให้มองเห็นตัวสินค้า
box pattern
การวาง product ใช้หนีบไว้ในตัวกล่อง

Results(สรุป)
     การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับไม้หนีบตัวการ์ตูนมีการออกแบบโครงสร้างให้เป็นลักษณะในรูปของกล่องสี่เหลี่ยมมีลวดลายของกล่องเป็นกราฟฟิกลายหินอ่อนแสดงถึงความแข็งแรงทนทาน มีการเปิดด้านหน้าของกล่องเพื่อให้มองเห็นตัวผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
     วิธีใช้
เปิดฝาจากด้านบนของกล่อง การพกพาใช้ลักษณะของการหิ้วเพราะตัวบรรจุภัณฑ์ทำเป็นที่หิ้วได้

ตัวบรรจุภัณฑ์จะติด tag โลโก้ของร้านด้วย

ลักษณะของการนำไปใช้
   ใช้เป็นที่หนีบกระดาษ หรือ โน๊ท แทนที่จะแปะไว้เฉยๆแต่ตัวหนีบก็ทำให้อยากใช้งานมากขึ้นเพราะมีตัวการ์ตูนสีสันสดใสเห็นแล้วก็อารมณ์ดีขึ้น

ภายในวันงาน 







วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 10 ( วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 )

1.ตรวจ Product ที่่จะขายในงาน Gift on the moon
2.ทำ map ใน www.mindomo.com
3.อัพ blogger โปรเจค 2 ก่อน 18:00 น.

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 9 ( วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 )

1.พรีเซนท์/จัดนิทรรศการโชว์ผลงานข้าวกล่องสำหรับมื้อกลางวันเป็นครั้งสุดท้าย
2.สั่งโปรเจคครั้งต่อไปงานเดี่ยวให้คิดผลิตภัณฑ์ที่จะขาย
3.ให้ขายในงาน Gift on the moon

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 8 ( วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 )

งานออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ล่าสุด
โลโก้หลังจากปรับปรุงแล้ว

 


รูปบรรจุภัณฑ์ตัวล่าสุด

 การจัดรูปแบบ



 


สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 7 ( วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 )

1. ทำบันทึกการดำเนินการโครงการออกแบบใน Blog
2. ยึดแนวทางและหลักการเรียนรู้แบบ 3 ส
3. ทำ Blog กลุ่มและโปรไฟล์กลุ่ม

ส่งงาน IDEA SKETCH ครั้งที่ 2

 

สรุปผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 6 ( วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555 )

1. สอบถามข้อมูลเชิงลึกของร้านค้าเพิ่มเติม

ส่งงาน IDEA SKETCH ครั้งที่ 2



Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...